เทคนิคการลงทุน: กองทุนรวม หนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจ

 

เทคนิคการลงทุน: กองทุนรวม หนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจ

กองทุนรวม คือเครื่องมือในการลงทุน (Investment Vehicle) สำหรับผู้ลงทุนรายย่อยที่ประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน แต่ติดขัดด้วยอุปสรรคหลายประการที่ทำให้การลงทุนด้วยตนเองไม่สามารถได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น มีทุนทรัพย์จำนวนจำกัด ไม่สามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเภทได้มากพอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน หรือไม่มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในการลงทุน หรือไม่มีเวลาจะศึกษา ค้นหา และติดตามข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจการลงทุน
การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เป็นวิธีการลงทุนที่ง่ายและสะดวก โดยเป็นการว่าจ้างผู้จัดการกองทุนทำงานให้ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายตามนโยบายกองทุนแต่ละกอง ทั้งนี้ผู้ลงทุนผ่านกองทุนรวมจะไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากก็สามารถกระจายการลงทุนได้

ผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล และกำไรจากการซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาในการบริหารการลงทุนด้วยตนเอง เนื่องจากมีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้บริหารเงินลงทุนให้

กองทุนรวมจึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายให้การลงทุนได้รับผลตอแทนที่ดีที่สุด ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้

ข้อดีของกองทุนรวม

    - มีผู้จัดการกองทุนที่เป็นมืออาชีพบริหารการลงทุน
    - กองทุนให้เลือกหลายหลายที่ระดับผลตอบแทนและความเสี่ยงแตกต่างกัน โดยผู้ลงทุนสามารถเลือก  การลงทุนได้ตามความเหมาะสม
    - กรณีบุคคลธรรมดา กำไรส่วนเกินจากการลงทุน (Capital Gain) ได้รับยกเว้นภาษี
    - ผู้ลงทุนสามารถทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนที่ธนาคารเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายได้ที่สาขาของธนาคารทั่วประเทศ

หลักการในการเลือกลงทุนในกองทุนรวมมีอย่างไร

อันดับแรกคือ ผู้ลงทุนจะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการลงทุนของตนเองก่อนว่าต้องการที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน และยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนนั้น ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน และมีความนิยมชื่นชอบส่วนตัวในกองทุนรวมประเภทใด เพื่อนำมากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเบื้องต้นในการเลือกประเภทของกองทุนรวมที่จะลงทุนให้มีความเหมาะสมกับผู้ลงทุนเอง

หลังจากนั้น จึงนำกองทุนรวมที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ในเบื้องต้นมาพินิจพิเคราะห์ ถึงผลการดำเนินงานในอดีตในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ที่ผ่านมาว่าสามารถให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนในกองทุนรวมนั้นในลักษณะใดบ้าง มากกว่าหรือน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของกลุ่มกองทุนรวมประเภทนั้น หรืออัตราผลตอบแทนของเกณฑ์มาตรฐานในการเปรียบเทียบของกลุ่มกองทุนรวมประเภทนั้นอย่างไร แล้วจึงเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่ให้อัตราผลตอบแทนในลักษณะที่อย่างสม่ำเสมอ หรือตามที่ผู้ลงทุนเห็นว่าดีที่สุดสำหรับผู้ลงทุน

อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมต่าง ๆ มิได้เป็นหลักประกันว่ากองทุนรวมนั้น ๆ จะให้ผลตอบแทนในอนาคตในลักษณะเดียวกันกับที่ผ่านมา เป็นเพียงแต่ข้อมูลสถิติให้ผู้ลงทุนได้นำไปใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาเท่านั้น เมื่อได้เลือกสรรกองทุนที่จะลงทุนได้แล้ว ผู้ลงทุนก็จัดสรรเงินลงทุนไปลงทุนในกองทุนรวมต่าง ๆ ตามที่กำหนด

ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตามที่ได้ลงทุนไว้ ว่าให้ผลตอบแทนเป็นไปตามที่ผู้ลงทุนได้มุ่งหมายไว้หรือไม่อย่างไร ซึ่งหากกองทุนรวมที่ได้ลงทุนไว้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนตามที่ผู้ลงทุนมุ่งหมาย หรือหากในขณะลงทุนนั้นผู้ลงทุนมีลักษณะคุณสมบัติตามเงื่อนไข และข้อจำกัดด้านการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ลงทุนก็จะต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนการลงทุนในกองทุนรวมเสียใหม่ ให้มีความเหมาะสมกว่าเดิมตามขึ้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่แรก ซึ่งจะเป็นวงจรเช่นนี้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้จบ

วิธีคำนวณผลตอบแทนจากกองทุนรวม

การคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมก็มีลักษณะเดียวกันกับการลงทุนอื่น ๆ โดยทั่วไปกล่าวคือ เราก็จะนำเงินที่ได้รับจากการลงทุนไปเปรียบเทียบกับเงินที่นำมาลงทุนในตอนแรกว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไร แล้วจึงนำไปคิดคำนวณเป็นอัตราร้อยละ อัตราผลตอบแทน =[-1] x 100

    Choose :
  • OR
  • To comment