การลงทุนทางด้านการเงินกับช่วงอายุของคนเรา

 

การลงทุนทางด้านการเงินกับช่วงอายุของคนเรา

มีคนเคยเปรียบการลงทุนว่าเหมือนการไต่เทือกเขาสูง ยิ่งเป้าหมายสูงเพียงใดต้องอาศัยจิตใจที่แข็งแกร่งจึงจะก้าวผ่านหุบเหวที่เป็นอุปสรรคไปได้ การลงทุนก็เช่นกันความผันผวนขอตลาดเศรษฐกิจนั้นเกิดขึ้นมาทุกยุคทุกสมัย มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ดังนั้น เมื่อผู้อ่านได้แสวงหาเส้นทางการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเองแล้ว ก็ควรเตรียมใจที่จะพบอุปสรรคที่จะเข้ามา

     - อายุ 21 – 30 ปี  หลังจากจบการศึกษาได้ปริญญาตรีมาแล้วและมีงานทำ ชีวิตช่วงที่เริ่มมีรายได้ที่สม่ำเสมอแต่ยังไม่สูงมากนัก เนื่องจากยังไม่มีประสบการณ์การทำงานหรือมีน้อย คนส่วนใหญ่ในช่วงวัยนี้มักเป็นคนโสด เป็นวัยที่เพิ่มเริ่มต้นทำงานและยังไม่มีภาระทางการเงินอะไรมากนัก จึงเป็นวัยที่ยังมีเวลาและมีกำลังในการหารายได้อีกนาน ดังนั้นคนในช่วงวัยนี้จึงสามารถจัดสรรเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงได้เกือบทั้งหมด เช่น หุ้น, กองทุนรวมหุ้น, เงินฝาก และตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร, ตั๋วสัญญาใช้เงิน,หุ้นกู้ หรือกองทุนรวมตราสารหนี้เป็นต้น

     - อายุ 31 – 40 ปี ในช่วงอายุนี้เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่เริ่มสร้างครอบครัว แต่งงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนแอร์ เครื่องซักผ้าจิปาถะ เป็นวัยที่การงานเริ่มมั่นคง รายได้เพิ่มสูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มตามมาเป็นทวีคูณ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก็ลดน้อยลง การลงทุนของคนในวันนี้จึงอาจจะต้องลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นลง แล้วไปเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ให้มากขึ้น

     - อายุ 41 – 55 ปี อายุในช่วง 41 ปีขึ้นไปนี้ ถือเป็นช่วงที่มีความมั่นคงสูงทางด้านหน้าที่การงานและรายได้สูง แต่ก็มีรายจ่ายที่สูงไม่แพ้กัน การลงทุนของคนในวัยนี้ควรจะเลือกลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ เริ่มเน้นความปลอดภัยของเงินต้นเป็นหลัก เพื่อจะได้เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามชรา สัดส่วนที่เหมาะสมในการลงทุนของคนในวัยนี้คือ 70% ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ อีก 30% ลงทุนในตราสารทุน โดยอาจแบ่งการลงทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษี พอช่วงอายุใกล้ 50 ปีขึ้นไปก็ต้องเริ่ม count down สำหรับวันที่ต้องเกษียณตัวเองออกจากการทำงาน เวลาในการหารายได้เริ่มหดสั้นลง ทุกคนก็ต้องเริ่มเตรียมการสำหรับตัวเองในเรื่องนี้ ฉะนั้นการออมและการลงทุนช่วงอายุนี้ นอกจากจะต้องคำนึงถึงลูกเป็นสำคัญแล้ว ยังต้องเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตหลังเกษียณที่ต้องวางแผนทั้งทางด้านการเงิน ร่างกาย และจิตใจให้พร้อมด้วย

     - อายุ 55 ปีขึ้นไป  บางคนก็ไม่มีรายได้แล้ว แต่บางคนโชคดีหน่อยยังมีเวลาหารายได้อีกก่อนเกษียณ ในช่วงนี้บทบาทเริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เป็นวัยเกษียณที่แทบจะไม่มีรายได้แล้วสำหรับบางคน และค่าใช้จ่ายอยู่คงที่เช่นเดิม แม้ค่าใช้จ่ายบางอย่างในชีวิตประจำวันจะเริ่มลดน้องลงบ้าง แต่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นตามวัยและสุขภาพ ดังนั้นเงินออมเกือบทั้งหมดในชีวิตควรอยู่ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรหรือกองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าคนหนุ่มสาวที่อายุยังน้อย สามารถลงทุนในตราสารทุน  ที่มีความเสี่ยงได้เป็นสัดส่วนที่สูง ส่วนคนที่มีอายุมากแล้วการลงทุนควรจะจัดสรรไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำจะดีกว่า ดังนั้น ก่อนการตัดสินใจเลือกลงทุน อย่าลืมสำรวจความพร้อมของตัวเองให้ครบทุก ๆ ด้านแล้วนำมาเปรียบเทียบดูว่าเงินออมที่มีอยู่นั้นควรนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ด้านใด ในสัดส่วนและจำนวนเท่าไร เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด

>> สรุปหากพิจารณาจะเห็นว่าในชีวิตการทำงานของบุคคลหนึ่ง ใจแต่ละช่วงก็จะมีความสามารถในการหารายได้แตกต่างกันไป ซึ่งสรุปโดยย่อเราอาจแบ่งช่วงอายุออกเป็น 3 ช่วงได้แก่

1.       ช่วงเริ่มทำงาน เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ให้เกิดความชำนาญ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่โดยปกติทั่วไปจะมีความสามารถในการหารายได้ที่ยังน้อย และก็มักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่งหน้าที่การทำงานที่สูงขึ้น
2.       ช่วงที่มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย เป็นช่วงที่บุคคลมีหน้าที่การทำงานที่มั่นคงขึ้น จึงเป็นช่วงที่ทำให้บุคคลมีความสามารถในการหารายได้สูงที่สุด และมีเงินเหลือสำหรับการนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้มากขึ้น
3.       ช่วงหลังเกษียณ เป็นช่วงที่ระดับความสามารถในการหารายได้จากการทำงานต่ำที่สุด หรือบางคนก็อาจจะไม่มีรายได้เลย


    Choose :
  • OR
  • To comment