เทคนิคการลงทุน: พลังแห่งหุ้นปันผลสูง (มากกว่า 20%)

 

พลังแห่งหุ้นปันผลสูง (มากกว่า 20%)
 
เทคนิคการลงทุน : พลังแห่งการปันผล  หลายคนกังขา ก็แค่ 5 – 15 % จะไปพอยาไส้อะไร ปีหนึ่งได้แค่ครั้งเดียว สู้การเก็งกำไรเล่นรอบไม่ได้ วันๆหนึ่งได้มากกว่าทั้งปีอีก ที่เข้าใจนั้นไม่ผิด แต่ก็พูดว่าถูกไม่ได้เช่นกัน นั่นเพราะว่า ปันผลที่ได้มานั้นค่อนข้างแน่นอน มากกว่า การเล่นรอบเก็งกำไรรายวัน   ปันผลนั้นเราสามารถเลือกบริษัทที่ดี (บริษัทที่ดีเป็นอย่างไร แนะนำอ่านหนังสือครับ) และปันผลแน่นอนได้ ส่วนการเก็งกำไรไม่มีเหตุผลใดๆมารองรับเลยนอกจาก ข่าว และ ตัวเลขทางเทคนิค


ผมเป็นคนที่ชอบความแน่นอน ฉะนั้นผมจึงตั้งใจจะหาเงินให้ได้สัก1,000,000 บาท และ ลงทุนในตลาดหุ้นโดยมองหาอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 20% โดยไม่สนว่าราคาหุ้นนั้นจะวิ่งขึ้นไปกี่ % เพราะว่าในอัตราผลตอบแทนนี้จะทำให้ในปีๆ หนึ่งผมสามารถมีเงินใช้ถึง 200,000 บาทเลยทีเดียว  หากแบ่งเป็นรายเดือนจะทำให้มีรายรับถึง 16,666  บาท แต่ด้วยอายุและหน้าที่การทำงานเงินจำนวนนี้ผมคงไม่จำเป็นต้องใช้จึงขอทบไป ที่ตลาดหุ้นทั้งหมด ลองคำนวณด้วย โปรแกรมหุ้นปันผล แล้วพบว่า จะมีเงิน = 2,488,320 บาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า ด้วยเงินลงทุน1,000,000 บาท แบบทบต้นที่ 20%/ปี โดยลงทุนเพิ่มปีละ 0 บาท

ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้การลงทุนในตลาดหุ้นสามารถปันผลได้ถึง 20% ต่อปีในเมื่อปัจจุบันนี้หุ้นก็ขึ้นไปถึง 1200จุด ผมมีช๊อยท์ให้เลือกครับ

1. เมื่อหุ้นตก มองหาบริษัทที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ ไม่มีเบี้ยว หรือ เบี้ยวอย่างมีเหตุผล (ขยายสาขา,เพิ่มฐานการผลิต,อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของบริษัท ) จ่ายเป็นหุ้น อาจพออนุโลม แต่เงินสดจะดีกว่ามาก รอจังหวะให้ yield (การปันผล) มากกว่า 20% หรือ ใกล้เคียงแล้วซัดเลยแบบไม่ต้องรอฟันธง

2. เมื่อหุ้นขึ้น แล้วคันมือ ให้มองหาบริษัทเหมือนข้อ ทุกประการ แต่ไม่ต้องรอจังหวะให้ yield มากกว่า 20% เพราะมันคงไม่มีวัน แต่อนาคตไม่แน่  ==>เหตุผลดูด้านล่างต่อ

เงินปันผล เป็นเงินส่วนที่บริษัทจดทะเบียนทำการลงทุน (โดยใช้เงินของเรา ) แล้วเกิดผลกำไร จึงนำมาแบ่งคืนให้กับผู้ถือหุ้น ใครถือมากก็ได้มาก ใครถือน้อยก็เอาไปน้อย โดยระบุไว้ว่าจะจ่าย ราคาเท่าไหร่ ต่อ หุ้น โดยมีข้อแม้ ตามนโยบายเงินปันผล ที่ระบุไว้บนหน้าเว็บ set.or.th อย่างเช่นบริษัทหนึ่ง
นโยบายเงินปันผล

ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการหลังหักภาษีและเงินสำรองต่างๆทุกประเภท ที่กฎหมายและบริษัทได้กำหนดไว้ (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม)  สมมุติว่ามีกำไร 300 ล้านบาท อย่างน้อยสุดถ้าหากบริษัทไม่มีเหตุทีต้องใช้เงินจะต้องทำการจ่ายเงินปันผล 40% ก็ประมาณ 120 ล้านบาท ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่ 600 ล้านหุ้นเท่ากับว่าจะต้องจ่า่ยเงินปันผลอยู่ที่ 0.2 บาทต่อหุ้น

สมมุติว่าเราถือหุ้นอยู่จำนวน 30,000 หุ้นก็จะเท่ากับ 6,000 บาท หากคิดเป็น yield (อัตราการปันผล %) ก็นำ จำนวนการจ่ายปันผลตั้ง หารด้วย ราคาเฉลี่ยของหุ้นนั้นในพอร์ตของเราที่ซื้อมา แล้วคูณด้วยร้อย อย่างเช่นหุ้นนี้ราคาที่ซื้อมา 3.37 บาท ก็จะได้ออกมาดังนี้ (0.2/ 3.37) x 100 = 5%
จากตัวอย่างข้างต้นเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน เหตุผลเดียวที่จะทำให้ได้ถึง 20% ก็คือ จะต้องลดราคาหุ้นของเราลงจาก 3.37 ให้ต่ำลงไปถึง บาท ซึ่งก็เข้ากับตัวเลือกที่ คือรอให้หุ้นตกลงมา แต่ถ้าหากไม่ตกมีอย่างเดียวที่จะทำได้คือ มองไปที่อนาคตของบริษัทว่า  จะสามารถทำกำไรได้พิ่มขึ้นหรือไม่ วิธีที่จะสังเกตุว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้มากน้อย เพียงใดก็จะมีัตัวเลขทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น PBV PE ROE ROA หรือแม้แต่ NM (Net Profit Margin)  ซึ่งถือเป็นตะแกรงร่อนหุ้นที่ดีได้ในระดับหนึ่ง และ หากสนใจจริงๆอยากร่วมลงทุนจัดๆ ค่อยไปรื้อข้อมูลย้อนหลังอีกครั้ง ดูว่าผู้บริหารพูดอะไรไว้ใน yotube และ รายละเอียดการประชุมในวาระต่าง ๆ ที่เคยเสนอไป มีส่วนใดบ้างที่มีการตอบรับกลับมา เสร็จแล้ว ถ้าเอาให้ชัวไปดูที่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และ กระแสเงินสด ตัวสุดท้ายนี้จะบอกได้ดีเลยว่า เอาเงินไปทำอะไร และได้มาจากไหนบ้าง เมื่อในอนาคตบริษัทสามารถทำกำไรได้มากขึ้นส่วนแบ่งเงินปันผลที่จะได้ก็มาก ขึ้นไปด้วยเช่นกัน อย่างเช่นว่าบริษัท สามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าคือ 1200 ล้านหุ้น ก็เท่ากับว่า อัตราการปันผลของเราจะเพิ่มขึ้นถึง 10% เลยทีเดียว

โดยสรุป การซื้อหุ้นนั้นจะต้องมี Margin of Safety ที่ถือเป็นหัวใจของนักลงทุนทุกคนต้องรู้ราคาจริงให้ได้ว่า หุ้นตัวนี้ราคาเท่าไหร่ในวันนี้  และ จะราคาเท่าไหร่ในวันหน้า ให้เตรียมพร้อมเรื่องนี้ไว้ตลอดเวลา เมื่อตลาดให้ราคาที่ผิดพลาดและต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเมื่อไหร่ สิ่งที่เราต้องทำคือเอาข้อมูลที่หาได้จากหัวข้อที่ผ่านมา และ อัดมันให้เต็บสูบไปที่หุ้นตัวนั้น และ อยู่กับมันอย่างมีความสุข ตลอดไป (เอ๊ะนี่เรายังไม่ได้รวมเรื่อง up gain ที่จะเกิดขึ้นด้วยนี่นา )

    Choose :
  • OR
  • To comment