ทำอย่างไรให้ลูกสนุกกับการออม

 



ทำอย่างไรให้ลูกสนุกกับการออม
 
ถ้าจะเรียงลำดับจากยากที่สุดไปหาง่ายสุดในเรื่องเงินๆ ทองๆ อาจจะเรียงลำดับได้ดังนี้ การหาเงิน การเก็บเงิน การใช้จ่ายเงินหลายคนรู้จักแต่การหาเงิน กับการใช้เงิน เก็บเป็นอย่างไรไม่รู้จัก  หนักกว่านั้นบางคนรู้อย่างเดียว คือ ใช้เงิน อาจเป็นเพราะเกิดมาบนกองเงินกองทอง หรือบางคนก็ชอบประพฤติตนเป็นชาวเกาะ
พฤติกรรมเรื่องการเงินของแต่ละคนที่แสดงออกมาต่างๆ กันนั้น ส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานการปลูกฝังอบรมมาตั้งแต่เด็กของแต่ละครอบครัวที่ไม่เหมือนกัน บางครอบครัวให้ความสำคัญเรื่องการใช้จ่ายอย่างรู้คุณค่าของเงิน ลูกหลานก็จะเป็นคนที่รู้จักใช้สอยอย่างประหยัด รู้จักการเก็บออม

บางครอบครัวกินอยู่อย่างฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ผลพวงที่ออกมา คือ ลูกหลานมีพฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัวไม่รู้คุณค่าของเงิน

บางครอบครัวกินอยู่อย่างมัธยัสถ์ ผลพวงตกไปถึงลูกหลานเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว ประเภทบาทเดียวไม่ให้กระเด็น แบบนี้ก็เกินไป ชีวิตไม่มีความสุข ในการใช้ชีวิตไม่ว่าด้านใดก็ตาม รวมทั้งด้านการเงินด้วย การยึดหลักเดินสายกลางน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด รู้จักการหาเงิน รู้จักการเก็บออม และรู้จักการใช้จ่ายอย่างพอดี

เกริ่นมายืดยาวมาเข้าเรื่องกันดีกว่า จะ " ทำอย่างไรให้ลูกสนุกกับการออม" เรื่องการปลูกฝังนิสัยรักการออมให้กับลูกคงหนีไม่พ้นครอบครัว คือ คุณพ่อ คุณแม่ นอกจากการสอนให้ลูกรู้จักหยอดกระปุก ฝากเงินกับธนาคาร แล้ว เพื่อเป็นแรงจูงใจและกระตุ้นการออมของลูก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องมีกลยุทธ์ในการสร้างแรงจูงใจให้ลูกสนุกกับการออม

โดยจะขอยกตัวอย่างของแฟนคอลัมน์ท่านหนึ่ง ซึ่งได้แนะนำให้ลองนำไปใช้กับลูก ผู้อ่านท่านนี้มีลูกคน เป็นผู้ชายทั้งคู่ กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล อายุ กับ ขวบ ได้เงินเป็นค่าขนมไปโรงเรียนคนละ 30 บาท สำหรับอาหารกลางวัน ทางโรงเรียนจัดให้โดยคิดเงินเป็นรายเดือน 

เริ่มต้นให้คุณแม่ใช้วิธี ซื้อกระปุกออมสินให้คนละ กระปุก โดยมีกติกาว่า ถ้าใครเหลือเงินค่าขนมมาหยอดกระปุกเท่าไรก็ตาม คุณแม่จะเพิ่มให้อีก เท่าของเงินที่เหลือ เช่น เหลือมา บาท ก็จะได้เงินมาหยอดกระปุก 2X2 = 4 บาท วันแรกคนน้อง เหลือมา 10 บาท คนพี่เหลือมา บาท น้องได้เงินหยอดกระปุก 20 บาท พี่ได้ 10 บาท เริ่มอาการเสียหน้าเล็กน้อย คุณแม่ต้องเป็นผู้ที่คอยคุมเกม และเป็นกองเชียร์คอยให้กำลังใจ

วันต่อมาเริ่มเก็บมากขึ้นเพื่อจะได้เงินเพิ่มขึ้นในการหยอดกระปุก บางวันไม่ยอมกินขนม อันนี้ไม่ดี คุณแม่ต้องคอยแนะนำ นอกจากนั้นยังไม่พอยังมีกติกาเพิ่มเติมหากหยอดได้เต็มกระปุกเมื่อไรเพิ่มให้อีก เท่าของเงินทั้งหมดในกระปุก และนำไปเปิดบัญชีธนาคารให้ โดยยังคงให้ยอดกระปุกทุกวันเต็มเมื่อไรก็นำไปเข้าบัญชี หรือเมื่อได้รับเงินจากญาติผู้ใหญ่ตามเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ ตรุษจีน ฯลฯ คุณแม่จะนำไปเข้าบัญชีให้ หรือแบ่งบางส่วนไปซื้อสลากออมสิน ซึ่งบางครั้งถูกรางวัลก็จะได้เงินเข้าบัญชีเพิ่ม

ซึ่งทั้งคู่จะได้ดูตัวเลขยอดเงินในสมุดคู่ฝาก ทำให้เกิดแรงบันดาลใจอยากจะเก็บเงินให้ยอดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใครอยากซื้อของเล่นก็ต้องใช้เงินก้อนนี้โดยคุณแม่จะออกให้ครึ่งหนึ่ง ถ้าเห็นว่าของสิ่งนั้นสมควรซื้อ ถึงปัจจุบันนี้คนน้องมีเงินในบัญชี 4,500 บาท คนพี่มี 4,000 บาท ทั้งคู่สนุกสนานกับการเก็บเงินมาก ลุ้นตัวเลขกันตลอด เมื่อได้รับเงินพิเศษจากญาติผู้ใหญ่รีบให้คุณแม่นำเข้าบัญชี ผิดกับก่อนหน้านี้ ซื้อของเล่นอย่างเดียว

ขั้นต่อไปอาจให้คุณแม่เพิ่มกติกา เช่น ถ้าเงินในบัญชีมียอดถึง 7,000 บาท จะได้เพิ่มเป็น เท่า หรือได้ของขวัญพิเศษ ชิ้น อะไรทำนองนี้ เมื่อมีเงินจำนวนหนึ่ง คุณแม่อาจแบ่งเงินบางส่วนไปซื้อประกันสะสมทรัพย์ให้ลูกเพื่อเป็นทุนการศึกษา หรือแบ่งบางส่วนไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์มากขึ้น และสอนวิธีการบริหารเงินให้ลูก สิ่งเหล่านี้สามารถใช้กับลูกได้จนโต แต่อาจปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับช่วงวัย ช่วยปลูกฝังนิสัย การรู้จักเก็บออม การรู้จักใช้จ่าย รู้จักการบริหารเงิน ซึ่งจะติดตัวเขาไปจนโตมีครอบครัว


ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

    Choose :
  • OR
  • To comment