มาตรวจสุขภาพทางการเงินของคุณ ว่าน่าห่วงหรือเปล่า?

 

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ คุณผู้อ่านทุกท่าน วันนี้โอกาสดี ขอนำเอาแนวคิดการตรวจสุขภาพฐานะทางการเงิน มาแนะนำให้กับเพื่อน ๆ กันครับ เพื่อน ๆ ลองสำรวจดูว่ามีข้อไหนตรงกับสภาพปัจจุบันของเราหรือเปล่า ถ้ามีก็ต้องรีบแก้ไขเสียแต่เนิ่น ๆ นะครับ ชีวิตจะได้มีความสุข มาดูกันเลยครับ

การวางแผนการเงินส่วนบุคคล และการออมเงิน

สุขภาพทางการเงินของคุณเป็นแบบนี้บ้างหรือเปล่า???

1. ไม่เคยมีเงินเหลือเก็บในบัญชี  ถึงแม้สถานภาพทางการเงินของคุณจะอยู่ในระดับที่ “ไม่น่าเป็นห่วง” แต่วันหนึ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับเรื่องยุ่งยากทางการเงินคุณอาจแย่ก็ได้ 

2. พกบัตรเครดิตมากกว่าห้าใบ บัตรเครดิตเป็นแหล่งเพาะหนี้ชั้นดี และยิ่งมีมากก็อาจยิ่งทำให้สถานะการเงินของคุณกลับย่ำแย่ได้
     
3. ผ่อนชำระบัตรเครดิตตามยอดหนี้ขั้นต่ำ การ ชำระแค่ขั้นต่ำเท่ากับการเริ่มต้นสะสมหนี้อย่างเป็นทางการ ยิ่งถ้าทำแบบนี้ทุกๆ เดือน คราวนี้ก็เตรียมเปิดประตูรอรับหนี้ก้อนโตได้เลย
     
4. ยืมเงินจากเจ้าหนี้รายใหม่มาชำระเจ้าหนี้รายเดิม หรือกู้เงินก้อนใหม่มาโปะหนี้ก้อนเก่า
     
5. ถูกเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่ม เมื่อ การชำระหนี้เริ่มไม่ปกติ สิ่งที่คุณอาจจะเจอคือถูกเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่ม หรือถูกขอให้มีผู้กู้ร่วมจากสถาบันการเงิน เพราะความสามารถในการชำระหนี้ของคุณลดลง
    
 6. ส่งค่างวดผ่อนบ้าน-รถช้า การส่งค่างวดบ้านและรถล่าช้ากระทบถึงเครดิตทางการเงินในระยะยาวของคุณ แต่ถ้าสุขภาพการเงินกำลังย่ำแย่มากๆ ใครจะมีปัญญาส่งล่ะ
     
7. ต้องยอมขายหุ้นทั้งที่ยังขาดทุน ถ้าคุณลงทุนหุ้นระยะยาวเอาไว้ แต่ต้องยอมขายแบบนี้ก็แสดงให้เห็นชัดว่า “ร้อนเงิน” และสุขภาพการเงินคงเริ่มย่ำแย่แล้วล่ะ
    
 8. ไม่สามารถประมาณการหนี้สินทั้งหมด เมื่อ ไรก็ตามที่คุณรู้สึกว่ามีหนี้รุงรังเต็มไปหมด และเริ่มจับต้นชนปลายไม่ได้ว่ามูลหนี้ทั้งหมดมีอะไรบ้าง ถึงขั้นนี้คงไม่ใช่หนี้ธรรมดาๆ แล้วล่ะ

     ถ้าใครมีอาการข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น รอช้าไม่ได้แล้ว ต้องรีบปฏิวัติตัวเองแบบบูรณาการ เริ่มต้นง่ายๆ ด้วย “กฎเหล็ก 5 ประการ.... ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้” จากโครงการส่งเสริมการออมและการบริหารเงินส่วนบุคคล ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

     1. ตั้งงบก่อนใช้ ช่วยให้คุณรู้จักคิดก่อนซื้อ
     2. เปรียบเทียบก่อนซื้อ เพื่อให้ได้ของดี ราคาเหมาะสม
     3. สรุปใช้สม่ำเสมอ เห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองว่าค่าใช้จ่ายใดที่ไม่จำเป็นและพอจะตัดออกไปได้บ้าง 
     4. ใช้น้อยกว่าหาได้ ใช้จ่ายให้น้อยกว่าเงินที่หาได้เสมอ 
     5. ไม่ใช้ก็ไม่ซื้อ อย่าซื้อของเพราะโปรโมชั่นดี มีของแถม ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่ หรือเพราะเกรงใจพนักงานขาย การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ต้องแก้ที่ตัวเองครับ


ไปหน้าแรก >> การวางแผนการเงินส่วนบุคคล



    Choose :
  • OR
  • To comment