เทคนิคการออมเงิน: เริ่มบริหารการเงิน ด้วยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายแบบรายวัน
จากสภาวะสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยมและความฟุ่มเฟือย จนทำให้คนไทยหลงเดินทางผิดไปตามกระแสนิยมจนกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ไม่มีวันจบสิ้น แนวทางหนึ่งที่ประชาชนคนไทยควรยึดถือปฏิบัติคือ การพึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาท โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตด้วยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายแบบรายวัน
การจัดทำการประมาณการรายรับ-รายจ่ายภายใน 1 เดือน เริ่มต้นด้วยการประมาณการรายได้ที่คาดว่าจะได้รับภายในช่วย 1 เดือน ที่จะทำการจัดทำโดยให้นำรายได้ที่คาดว่าจะได้รับจากทุกแหล่งทุกทางไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส และรายได้อื่น ๆ จากการประกอบอาชีพเสริมนอกเวลาการทำงานประจำ ขั้นตอนต่อไปก็คือ ให้ทำการประมาณการค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะต้องจ่ายในเดือนนั้น สำหรับรายจ่ายของบุคคลจะมีบางรายการมากบ้างหรือน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสถานะในชีวิตส่วนตัว เช่น อายุ, อาชีพ (ศึกษาอยู่หรือทำงานแล้ว) อายุงานที่ทำ, ตำแหน่งงาน,หน้าที่,โสดหรือแต่งงาน ,มีบุตรหรือไม่มี มีบุตรกี่คน
[เทคนิคการออมเงิน]
ดังนั้นเรามาเริ่มต้นการบริหารเงินกันโดยที่คุณผู้อ่านจะต้องนำข้อมูลในอดีตมาประมาณการรายรับ-รายจ่าย เพื่อมาเปรียบเทียบกับการจดบันทึก (บัญชีส่วนตัวแบบรายวัน) เพื่อให้รู้สถานะการเงินของคุณ
เมื่อเราทำงบประมาณรายเดือนให้ได้ดุลแล้ว ขั้นต่อไปคือเราต้องควบคุมการใช้จ่ายในเดือนต่อไปให้อยู่ในงบประมาณที่เราจัดทำไว้ วิธีการควบคุมคือ เราต้องจดค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ทุกครั้ง ทุกบาท ทุกสตางค์ที่จ่ายออกไป รวมทั้งรายได้ที่รับเข้ามาในทุก ๆ วัน หมั่นสร้างหลักฐานเตือนตัวเองให้เห็นว่าในแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่จำเป็นและไม่จำเป็นอะไรบ้างที่เราพอจะตัดทิ้งได้ในเดือนนั้น ๆ เพื่อควบคุมให้อยู่ในงบ
การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายแบบรายวันคือ การจดบันทึกค่าใช้จ่ายและรายรับในแต่ละวัน เพื่อตรวจสอบกับงบประมาณรายเดือนอยู่ตลอดเวลา หรือทุก ๆ เย็นเมื่อกลับถึงบ้านว่าการใช้จ่ายและรายรับเป็นไปตามประมาณการรายเดือนหรือไม่ หากวันใดใช้เกินประมาณการ ในวันต่อไปต้องตัดค่าใช้จ่ายบางตัวออก เมื่อถึงสิ้นเดือนจะไม่ขาดดุล
[เทคนิคการออมเงิน]
การจดค่าใช้จ่ายในชีวิตประวันของคุณ ควรแยกค่าใช้จ่ายออกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าเสื้อผ้า เป็นต้น เวลาจดบันทึกจริง ๆ เราจะจดบันทึกแยกเป็นหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องบันทึกเป็นรายละเอียดมากให้จนเกินไป เช่น หากเราไปซื้อของใช้หลาย ๆ อย่างในห้างสรรพสินค้า เราก็บันทึกลงในหมวดหมู่ไม่ต้องลงรายละเอียดว่าซื้อสบู่ ซื้อแซมพู ซื้อยาสีฟันไปอย่างละเท่าไร ยี่ห้ออะไรเพราะมันจะยุ่งยากมากเกินไป การบันทึกค่าใช้จ่ายทำให้เราเห็นวิถีชีวิตจากนิสัยการใช้จ่ายที่ไม่ดี เช่น ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่เกิดจากการสังสรรค์ การแต่งตัว หรือเกิดจากกิจกรรมบันเทิงสันทนาการมากจนเกินไป แล้วคุณจะพบว่าคุณสามารถประหยัดเงินค่าใช้จ่ายบางรายการได้ทันที
สรุป : จากข้อมูลในงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้จ่าย พบว่าในครอบครัวที่มีรายได้ต่ำจะมีรายจ่ายค่าอาหารเป็นรายจ่ายหลักในขณะที่ครอบครัวที่มีรายได้สูงรายจ่ายจำนวนมากจะเป็นรายจ่ายเพื่อบ้านที่อยู่อาศัย
อย่าคิดว่าการทำบัญชีแบบรายเดือนจำเป็นสำหรับบริษัทห้างร้านเท่านั้น ชีวิตส่วนตัวของเราก็สามารถที่จะทำการสรุปบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนได้ เพื่อที่เราจะได้ทราบว่าในเดือน ๆ หนึ่งนั้นเราใช้เงินไปเท่าไรและมียอดคงเหลือเท่าไร
[เทคนิคการออมเงิน]