เทคนิคการออมเงิน: การวางแผนค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล

 


เทคนิคการออมเงิน: การวางแผนค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล

ชีวิตของคนเรานั้นมีความไม่แน่นอน สามารถเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นได้ตลอดเวลา อันอาจจะนำไปสู่การสูญเสียทั้งทางด้านทรัพย์สินร่างกาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินไม่มากก็น้อย เช่น สูญเสียเงินออม หรือสูญเสียความสามารถในการหารายได้ในอนาคต เป็นต้น ดังนั้น การวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงหรือบรรเทาความสูญเสียจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็นับเป็นการประกันความมั่นคงทางการเงินได้
การวางแผนการใช้จ่ายที่ดีจะสามารถนำความสำเร็จในด้านการเงินมาสู่ท่านได้ ในการเริ่มต้นทางการวางแผนการใช้จ่าย บางทีคุณอาจจะนึกไม่ออกว่าจะเริ่มอย่างไรดี เพราะบางท่านอาจจะมีรายได้ไม่แน่นอน ในขณะที่บางท่านอาจจะไม่รู้ว่าจะต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง ผมขอแนะนำให้ท่านเริ่มจากการดูการใช้จ่ายประจำเดือนที่ผ่าน ๆ มาว่ามีค่าใช้จ่ายสิ่งใดบ้างที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายสิ่งใดบ้างที่ฟุ่มเฟือยในการวางแผนการใช้จ่ายเงิน ท่านอาจจะต้องแบ่งแยกค่าใช้จ่ายเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น

    1. ค่าใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย เช่น ค่าผ่อนบ้านหรือค่าเช่าบ้าน
    2. ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าแก๊สหุงต้ม ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
    3. ค่าอาหาร เช่น ค่าวัตถุดิบในการทำอาหารทานที่บ้าน ค่าทานอาหารนอกบ้าน
    4. ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว เช่น ให้บิดามารดา ค่าเลี้ยงดูบุตร
    5. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทาง ถ้ามีรถยนต์ส่วนตัว เช่น ค่าผ่อนรถ, ค่าน้ำมัน, ค่าซ่อมรถ, ค่าทางด่วน, ค่าประกันภัยรถยนต์ หรือถ้าไม่มี
    6. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ค่าประกันสังคม ค่าประกันชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และที่ขาดไม่ได้เป็นการป้องกันก่อนรักษาคือค่าใช้จ่ายสำหรับการออกกำลังกาย ตัวอย่างเช่น ค่าสมาชิกสถานออกกำลังกาย
    7. ค่าใช้จ่ายสำหรับของใช้ประจำวัน เช่น ยาสีฟัน, สบู่, แชมพู และผงซักฟอก เป็นต้น
    8. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดสำหรับการทำงาน เช่น ค่าเสื้อผ้าใส่ทำงาน ค่าคอมพิวเตอร์ และค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย

    1. ค่าพักผ่อนสำหรับความบันเทิง เช่น ค่าเคเบิ้ลทีวี ค่าใช้จ่ายในการดูภาพยนตร์ และค่าท่องเที่ยว เป็นต้น
    2. ถ้ามีสัตว์เลี้ยงก็จะมีค่าใช้จ่ายสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น ค่าอาหาร ค่าตัดขน และค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
    3. ค่าใช้จ่ายสำหรับการแต่งกายเสริมสวย เช่น ค่าเสื้อผ้าใส่เที่ยว เครื่องสำอาง และค่าตัดและทำผม เป็นต้น

ในระยะแรกอาจจะใช้วิธีสรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้เป็นรายเดือน แล้วค่อยขยับมาเป็น 15 วันสรุปที และสรุปในทุกสัปดาห์โดยการจดบันทึกค่าใช้จ่ายนี้  แม้ไม่ได้ทำให้รายได้เพิ่มจากที่ได้รับคงที่ทุกเดือน แต่ทำให้เรามีวินัยในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

สำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คุณผู้อ่านอาจเก็บใบเสร็จไว้เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนค่าใช้จ่ายต่อไป เมื่อท่านได้แผนการใช้จ่ายแล้วก็มาดูต่อว่า รายได้ของท่านเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหรือไม่ หากไม่เพียงพอก็มีอยู่ 2 วิธีที่จะแก้ปัญหา ได้แก่ วิธีที่ 1 การเพิ่มรายได้ วิธีที่ 2 ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เมื่อท่านวางแผนการใช้จ่ายเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ พยายามปฏิบัติตาแผนการใช้จ่ายให้ได้ หากท่านทำตามแผนได้สิ่งที่ตามมาก็คือ วินัยทางการเงินซึ่งจะนำไปสู่การออมในอนาคต จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะจดบันทึกค่าใช้จ่ายรวมไปถึงการเก็บออม เพียงแต่ที่สำคัญต้องเตือนตัวเองไว้เสมอว่าต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ แล้วความมีวินัยในการใช้เงินและเก็บออมก็จะเกิดขึ้นเอง

>> สรุป  ทุกครั้งก่อนการจ่ายเงินคุณผู้อ่านจำเป็นต้องมี “การวางแผนการจ่ายเงิน” ก่อนเสมอ เช่น การเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะต้องใช้จ่าย โดยคิดจากรายรับว่าเรามีรายรับเท่าใด มีเงินจำนวนเท่าไร และจากรายรับที่มีให้เราแจกแจงออกมาว่าเราต้องใช้จ่ายในเรื่องอะไรบ้าง หากเราเริ่มต้นวางแผนการใช้จ่ายเงินตั้งแต่ยังมีเรี่ยวแรงในการทำงาน จะทำให้ไม่เกิดความอัตคัดยามที่เราจำเป็นต้องใช้จ่าย และมีเงินเก็บสำหรับใช้จ่ายในอนาคต

อยากรวยต้องรู้

สำหรับคาถาที่เหมาะสมกับคนที่กำลังสร้างครอบครัวที่ตัวผู้เขียนแนะว่า อย่าใจอ่อนต้องไม่เผลอใจซื้อของง่ายอย่าให้เกิด  “การซื้อโดยไม่ตั้งใจ”

    Choose :
  • OR
  • To comment