ความเสี่ยงกับการประกันชีวิตและสุขภาพ

 

ความเสี่ยงกับการประกันชีวิตและสุขภาพ (Risk Management with Life and Health Insurance)

ความสำคัญและความหมายของความเสี่ยง
 ความเสียงคือโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งนำความเสีย หายต่อตนเองและผู้อื่น และอาจวัดมูลค่าออกมาทางเศรษฐกิจ และเป็นตัวเงิน lความเสี่ยงมีหลายอย่าง เช่น ความตาย ความพิการ ความสูญเสียทรัพย์สินและรายได้ lไม่มีใครสามารถขจัดความเสี่ยงได้ แต่มีหนทางที่ป้องกัน 
ประเภทของความเสี่ยง Pure risk Speculative risk Property risk Liabillity risk Personal risk เป็นความเสี่ยงที่อาจ มีทั้งได้ และเสีย อาจเกิดโอกาสสูญเสียทรัพย์สิน เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่คิด เป็นการที่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหาย ทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคล 
 
4 กลยุทธ์การลดความเสี่ยง
  1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างง่ายที่สุด คือการไม่ไปเกี่ยวข้องใน เหตุการณ์ที่จะเกิด ความเสียหายแก่เรา อย่างไรก็ตามภัยบางอย่างก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ความตาย
  2. การลดความเสี่ยง โดยการเพิ่มความป้องกันความปลอดภัยเข้าไป และในบ้างครั้งอาจทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้นระดับของความต้องการรักษาความปลอดภัยก็จะแตกต่างไปตามแต่ความจำเป็น ของแต่ ละบุคคล
  3. การคงไว้ซึ่งความเสี่ยง กรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นได้ หรือต้องยอมรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น เจ้าของบ้านไม่สนใจในเรื่องการทำประกันอัคคีภัย หากเกิดไฟไหม้เขาก็ต้องยอมรับกับความเสี่ยงทั้งหมด
  4. การโอนความเสี่ยง โดยการโอนความเสี่ยงให้แก่สถาบันอื่น เช่นบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับภาระแทน
ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยง 

- จำแนกลักษณะของภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวรวมถึง ประเมินความเสียหายหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น lเลือกกลยุทธ์ในการป้องกันแก้ไขความเสี่ยงนั้นให้เหมาะสม
การควบคุมและติดตามผล
ประกันชีวิตคืออะไร .. ประกันทำไม .. เพื่อใคร
-ประกันชีวิต –เป็นแผนการออมทรัพย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ผลประโยชน์กว่าการออมทรัพย์ โดยปกติเพราะจะได้ ทั้งเงินออม และความคุ้มครอง
-ประกันทำไม – คนเราต้องเผชิญกับภัยอันตรารอบด้าน และเรามาสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไร เวลาใด
-เพื่อใคร –จะช่วยเหลือผู้เอาประกันและครอบครัวของผู้เอาประกัน

แบบของประกันชีวิต
  1. การประกันแบบชั่วระยะเวลา
  2. การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
  3. การประกันแบบสะสมทรัพย์
  4. การประกันแบบเงินได้ประจำ
  5. การประกันชีวิตแบบอื่นๆ

การวางแผนทางการเงินเพื่อการทำประกันชีวิตที่ดี
  1. กำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
  2. วางแผนการซื้อประกัน
  3. การประเมินผลและควบคุมอะไรคือความต้องการ .. และเหมาะสมกับเงินออมที่มีอยู่หรือไม่ ปรับปรุงกรมธรรม์ให้เหมาะสมกับความต้องการของครอบครัวอยู่เสมอ จัดสรรเงินออมอย่างเหมาะสม โดยปกติคนทั่วไปมักเก็บเงิน
    10 –15% เพื่อทำประกันชีวิต
ประโยชน์ทางการเงินของการประกันชีวิต เป็นแหล่งเงินออมที่สามารถ กู้ยามฉุกเฉินได้ เป็นการลงทุนให้เกิดดอกผล สามารถนำไปหักลดหย่อน ในการเสียภาษีเงินได้

    Choose :
  • OR
  • To comment