ทฤษฎีเสาหลักของธนาคารโลก

 



ระบบการออมเพื่อเกษียณอายุหรือระบบบำนาญที่ธนาคารโลก (World Bank) นำมาเป็นแนวคิดและเสนอเป็นการทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ที่เรียกกันว่า "ทฤษฎีเสาหลัก 3 ต้น (Three Pillars)"

     1st Pillar : PublicMandated, Publicly Managed,Defined Benefit System เป็นระบบแบบบังคับ โดยประชาชนจ่ายส่วนหนึ่งและรัฐจะจ่ายเงินอุดหนุนอีกส่วนหนึ่งบริหารโดยหน่วยงานของรัฐกำหนดผลประโยชน์เป็นอัตราขั้นต่ำที่สมาชิกจะได้รับในประเทศไทยได้แก่กองทุนชราภาพของระบบประกันสังคม

     2nd Pillar: Public Mandated, Privately Managed , Defined Contribution System เป็นระบบแบบบังคับโดยรัฐบังคับให้ประชาชนออมเพื่อเพิ่มหลักประกันในยามชราโดยอาศัยผลแห่งการทำงานของตนเอง รูปแบบการออมเป็นบัญชีรายบุคคล เอกชนเป็นผู้บริหารในประเทศไทยมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งน่าจะจัดได้ว่าเป็นเสาหลักต้นที่ 2 แต่จำกัดขอบเขตบังคับใช้กับข้าราชการเท่านั้น นอกจากนี้ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการเสนอหลักการเพื่อออกกฎหมายจัดตั้งกองทุนภาคบังคับสำหรับแรงงานภาคเอกชนเพื่อให้มีหลักประกันในการดำรงชีพเช่นเดียวกับข้าราชการ

     3rd Pillar : Privately Managed, Voluntary Savings, Defined Contribution System เป็นระบบการออมแบบสมัครใจ รูปแบบการออมเป็นบัญชีรายบุคคล เอกชนเป็นผู้บริหาร รัฐให้การสนับสนุนด้วยการให้สิทธิประโยชน์ Mandated, Privately Managed , Defined Contribution System เป็นระบบแบบบังคับโดยรัฐบังคับให้ประชาชนออมเพื่อเพิ่มหลักประกันในยามชราโดยอาศัยผลแห่งการทำงานของตนเอง รูปแบบการออมเป็นบัญชีรายบุคคล เอกชนเป็นผู้บริหารในประเทศไทยมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งน่าจะจัดได้ว่าเป็นเสาหลักต้นที่ 2 แต่จำกัดขอบเขตบังคับใช้กับข้าราชการเท่านั้น นอกจากนี้ กระทรวงนายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการทางภาษี ในประเทศไทยได้แก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

     ทฤษฎีเสาหลัก 3 ต้นเปรียบเสมือนตาข่ายที่จะรองรับคุณไว้ให้สามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างไม่ลำบาก การออมเงินผ่านเฉพาะเสาหลักต้นที่ 1 อาจมีเงินออมเพียงน้อยนิดไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่นับวันจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และในอนาคตภาระของรัฐบาลมีมากขึ้น สวัสดิการจากเงินกองทุนประกันสังคมอาจลดลงหรือมีจำกัดไม่เพียงพอ จึงควรต้องมีเสาหลักต้นที่ 3 ที่ใช้หลักการพึ่งตนเองรองรับไว้เพื่อความอุ่นใจได้ว่า คุณจะมีเงินก้อนไว้ใช้เพิ่มเติมจากเสาหลักต้นที่ 1

ที่มา :  คอลัมน์อาหารสมอง หนังสือพิมพ์ทันหุ้น

    Choose :
  • OR
  • To comment