เคล็ด (ไม่) ลับ กับการวางแผนการเงินสำหรับ “วัยเริ่มทำงาน”

 

เวลาที่มีการพูดคุยกันถึงเรื่องการวาง แผนทางการเงิน และบริหารเงินออมเพื่อการเกษียณให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเพียงพอต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขหลังเกษียณนั้นมักจะมีคำถามที่ถาม กันบ่อยจากท่านที่เพิ่งก้าวเข้ามาสู่ช่วงชีวิตของทำงาน เช่น คำถามว่าเร็วเกินไปหรือไม่ที่จะออมเงินเพื่อการเกษียณ  หรือคำถามที่ว่าเพิ่งทำงานยังไม่พ้นช่วงทดลองงานเลย ทำไมต้องรีบออมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณด้วย


          วันนี้ผมจึงขอ เล่าประสบการณ์การออมของผมให้ผู้ที่เพิ่งเรียบจบ หรือเริ่มเข้าสู่วัยทำงานให้ฟังครับ ท่านเชื่อหรือไม่ครับว่าช่วงแรกๆ ของการทำงานของผมได้มีความตั้งใจว่าทุกๆ เดือนเมื่อใช้จ่ายแล้วเหลือเท่าไรก็จะออมเพื่ออนาคตที่มั่งคั่ง ตามความฝันของคนที่เพิ่งมีงานทำ  ปรากฎว่าความคิดที่จะออมหลังจากใช้จ่ายนั้นได้ทำให้ผมกลายเป็นบุคคลที่มี เงินเดือนเท่าไรก็ไม่ค่อยพอใช้เท่านั้นครับ หรือที่เรียกว่าชักหน้าไม่ถึงหลัง และผมไม่สามารถเก็บออมเงินได้เลย  ต่อมาผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการออมเงินชื่อว่า “ออมก่อน รวยกว่า” ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดพิมพ์ขึ้น แต่งโดย คุณนวพร เรืองสกุล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เนื้อหาของหนังสือมีการนำเสนอแนวคิดด้านการออมและการลงทุนไว้ โดยใช้ภาษาที่ง่าย ๆ ซึ่งต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้ทำให้ผมต้องกลับมาคิดว่าหากออมก่อนแล้วจึงค่อยนำ ไปใช้ น่าจะเป็นวิธีที่จะทำให้ผมมีเงินเหลือเก็บได้ ผมจึงเริ่ม “ออมก่อน ใช้ทีหลัง” และด้วยวิธีนี้ทำให้ทุกวันนี้ผมมีเงินเหลือพอที่จะนำไปลงทุนให้งอกเงยเพื่อ ที่จะได้มีโอกาสมีเงินใช้อย่างเพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณ

          หลาย ท่านที่เพิ่งจบการศึกษาไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นวางแผนเพื่อการเกษียณอย่างไร  ผมมีเคล็ด(ไม่)ลับ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มทำงาน มาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ครับ
                     
          การมีวินัย   โดยหัก 10%ของรายรับเก็บเอาไว้เป็นเงินออมนั่น คือในแต่ละเดือนหรือทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามา ต้องหักไว้อย่างน้อย 10% อย่างประจำและสม่ำเสมอที่เหลือจึงนำมาใช้จ่ายได้ หากท่านเริ่มมีวินัยในการออมเงินเป็นเหมือนที่ผมได้บอกไว้ได้เร็วเท่าไร ท่านก็สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วเท่านั้นครับ  
                    
          การทำบัญชีรับจ่ายรายสัปดาห์ หรือรายเดือน  วิธี นี้เป็นวิธีที่ง่าย และทำให้เรารู้ค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด ท่านสามารถประเมินการใช้เงินของตัวเองได้ทุกๆเดือน ทว่าบางท่านอาจจะเลือกทำบัญชีรับจ่ายเป็นรายวันก็ได้ครับ หากท่านมีเวลาพอ  แต่สำหรับผมเลือกที่ทำเป็นรายสัปดาห์ครับ เพราะทำเป็นรายวันบางครั้งก็ลืม หรือไม่มีเวลาครับ 
                    
          การมีสติในการใช้จ่าย  โดย เฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้จ่ายบัตรเครดิต เช่น หากท่านต้องการซื้อกระเป๋า หรือสิ่งของราคาแพงๆ โดยใช้บัตรเครดิตก็ขอให้ระงับการใช้หรือยับยั้งชั่งใจ และขอให้เก็บเงินจนกระทั้งสามารถซื้อของสิ่งนั้นได้ มิเช่นนั้นหากท่านสร้างนิสัยการซื้อของด้วยบัตรเครดิตอย่างขาดความระมัด ระวังจะทำให้ท่านมีโอกาสที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามรอบระยะเวลาการเรียก เก็บ
                    
          การสำรองเงินเผื่อฉุกเฉิน  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการใช้เงินฉุกเฉิน  เงินก้อนนี้เป็นเงินส่วนที่ท่านมีเงินเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว ทั้งนี้ท่านควรมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อยที่สุดเท่ากับค่าใช้จ่ายต่อ เดือนรวมกัน 3-6 เดือน โดยเงินสำรองนี้ท่านควรเก็บไว้ในรูปแบบที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด และมีสภาพคล่องสูงเพื่อสามารถเบิกออกมาใช้ได้ยามที่เราต้องการ เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงินที่สามารถไถ่ถอนได้ทุกวันทำการ
                    
          การป้องกันความเสี่ยงของชีวิต  โดย การทำประกันชีวิต เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับตัวท่านและครอบครัวของท่าน   หากท่านเป็นกำลังหลัก หรือเป็นผู้ที่หารายได้หลักๆ ของครอบครัว การทำประกันชีวิตยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งครับ 
                    
          การรู้จักเลือกลงทุน  เพื่อ ให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินกับธนาคารและชนะเงินเฟ้อ  ภายใต้ความเสี่ยงที่ตนเองรับได้  ซึ่งท่านควรที่จะสำรวจว่ายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน  นั่นคือ ถ้าในการลงทุนหนึ่งๆ ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากท่านมีโอกาสต้องสูญเสียเงินไปเพื่อแลกกับผลตอบที่จะได้รับกลับมา ท่านจะต้องมีเงินเหลือโดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้ขอให้ท่านระลึกอยู่เสมอว่าการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง 

          ทั้ง หมดที่กล่าวมาผมหวังว่าท่านผู้อ่านจะนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไปใช้เพื่อเริ่มต้นจัดการ การลงทุนในเบื้องต้นให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้  และข้อสำคัญขอให้ผู้อ่านใช้เวลาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนอย่างเต็มที่ หากไม่แน่ใจ หรือสงสัยให้ค้นหาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินการลงทุน เพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยละเอียดก่อนการลงทุนครับ

    Choose :
  • OR
  • To comment