เทคนิคการออมเงิน: เริ่มต้นบ่มเพาะนิสัยแห่งความมั่งคั่ง

 

เทคนิคการออมเงิน
เทคนิคการออมเงิน: เริ่มต้นบ่มเพาะนิสัยแห่งความมั่งคั่ง

เทคนิคการออมเงิน: “เงินไม่ได้ทำให้เรารู้สึกยกย่องตัวเอง แต่ความรู้สึกยกย่องตัวเองต่างหากที่ทำให้เรามีเงิน”
คนเราส่วนใหญ่มักคิดว่า ความร่ำรวยเกิดจากการหาเงินเก่ง และหาเงินให้ได้มาก ๆ โดยที่เอาความสามารถในการสร้างเม็ดเงินมาเป็นบรรทัดฐานในการวัดความมั่งคั่ง หากคิดเช่นนี้ฉันใด คุณก็จะห่างไกลความมั่งคั่งและความร่ำรวยฉันนั้น เพราะเป็นเสมือนการเอาไม้บรรทัดไปวัดอุณหภูมิมิของน้ำ เป็นการคิดที่ผลลัพธ์แทนที่จะคิดที่จุดเริ่มต้น

การที่คนเราจะร่ำรวยได้ ต้องมีทักษะที่จะสามารถร่ำรวย ซึ่งเป็นทักษะทางความคิด ทัศนคติ ที่ต้องอาศัยการบ่มเพาะอย่างสม่ำเสมอ และบ่มเพาะจนกลายเป็นวิถีการคิดและทัศนคติต่อเรื่องเงิน การที่เราให้ความมั่งคั่งร่ำรวย ถูกวัดจากปัจจัยภายนอก จะทำให้เราไม่ได้สัมผัสกับความมั่งคั่งร่ำรวยสักที เพราะจิตใจใต้สำนึกของเราเองยังไม่เชื่อมั่นเลยว่า เราร่ำรวยและมั่งคั่งเพียงพอแล้ว 

เทคนิคการออมเงิน: ทักษะของความมั่งคั่งร่ำรวยทำได้โดยการบ่มเพาะทัศนคติความมั่งคั่งต่อไปนี้

ขอบคุณเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มา

ทำงานเหนื่อยสายตัวแทบขาด พอได้เงินมากลับคิดว่า “ทำไมเงินน้อยจัง” “ไม่คุ้มค่าเหนื่อย” “ได้แค่นี้ครั้งต่อไปไม่ทำแล้ว” การมีทัศนคติเช่นนี้ เป็นเพราะคุณมองเห็นแต่รายจ่ายที่รออยู่ตรงหน้า ไหนจะค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าบัตรเครดิต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ ที่รออยู่ ความสำคัญของเงินจึงถูกลดทอนลงไป เพราะเมื่อได้มาก็จ่ายไป

ครั้งต่อไปหาได้รับเงินมาก ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนที่รับประจำ เงินก้อนโตจากงานนอก หรือรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ จากที่ไหนก็ตาม อยากให้คุณลองให้ความสำคัญและให้คุณค่ากับเงินที่หามาได้ ยินดีกับเงินที่ได้มา ไม่ว่าจะมาหรือน้อย ขอบคุณนายจ้างหรือผู้ที่จ่ายเงินให้ด้วยใจจริง เขาข่ายคำพูดคนโบราณที่ว่า “อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา” ครับ

รักษาและถนอมรายได้

เทคนิคการออมเงิน: การที่เรารักใครสักคน ปรารถนาดีต่อใครสักคน ก็ ย่อมได้รับความรักและความปรารถนาดีตอบกลับมา เงินก็เช่นกัน ไม่เชื่อลองดูครับ ทุกครั้งที่ได้เงินมาแทนที่จะรีบจับจ่ายใช้สอย ลองค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ใช้จ่าย จัดสรรปันส่วนใช้อย่างมีคุณค่า ไม่ใช่สักแต่ว่าหามาให้ได้เยอะๆ แล้วใช้จ่ายไปแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ไม่มีแผนการใช้จ่ายที่จะวางแผนให้เงินอยู่กับเรานาน ๆ การถนอมและหวงแหนเงินทุกบาททุกสตางค์นั้นเท่ากับว่าดึงดูดความมั่งคั่งร่ำรวยไว้กับตัวแล้วล่ะครับ

ทำสิ่งที่รักมากกว่าทำเพื่อเงิน

คนสมัยใหม่ก่อนที่จะตัดสินใจสมัครงานหรือทำงานอะไรก็ตาม มักคิดถึงเรื่องของรายได้เป็นหลัก ผู้เขียนเองเคยแนะนำให้เพื่อนรุ่นน้องที่กำลังหางานมาสมัครงานที่เดียวกัน เพราะเพื่อนรุ่นน้องที่ก็เข้าข่ายนี้ คือมีปริญญาโทติดตัวแต่ขาดซึ่งประสบการณ์ แต่บริษัทที่ทำอยู่นี้เปิดโอกาสให้พนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อนมาร่วมงานด้วยเสมอ แต่คำถามหนึ่งที่เขาถามออกมาทำให้เราอึ้งในวิธีคิด คือเขาถามว่าเงินเดือนที่บริษัทจ่ายให้เท่าไร เขาจะไม่ยอมเริ่มต้นเงินเดือนเท่ากับพนักงานคนอื่น ๆ เพราะเขาจบถึงปริญญาโท

ฟังแบบนี้แล้วความหวังดีที่อยากช่วยให้น้องหางานได้ถึงกับหมดไป และค่อนข้างมั่นใจว่าถึงจะมาสมัครงานก็คงจะไม่ได้งานทำ เพราะทัศนคติที่คำนึงถึงเรื่องของผลตอบแทนเป็นหลัก
การที่คนเราจะตัดสินใจทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ควรที่จะเลือกจากความชอบและความสามารถที่จะทำได้ของตัวเองก่อน เพราะเราต้องใช้เวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นในการทำงานต่อวัน หากเราไม่ได้ทำงานที่ชอบเลย แต่ทำเพียงเพื่อต้องการเงิน ถามว่าได้เงินเยอะแต่ไม่มีความสุข ไม่มีความสนุกกับการทำงาน แล้วจะทำงานไปได้นานสักเท่าไร

ผิดกับคนที่ทำงานที่ตัวเองชอบ เขาจะมีไฟในการทำงานอยู่เสมอ จนทำให้คนอื่นที่ติดต่อทำงานได้สัมผัสได้ และพลอยกระตือรือร้นไปกับงานของเขาด้วย ขณะเดียวกันแม้งานนั้นจะเหนื่อยหนักเพียงใดก็ตาม คนทำงานก็จะไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือขี้เกียจ เพราะได้ทำงานที่ตัวเองรัก แถมยังจะพยายามสร้างสรรค์ผลงานให้ดีขึ้น พัฒนาความรู้และความเชี่ยวชาญของตัวเองอยู่เสมอ ๆ

การบ่มเพาะความคิดและทัศนคติความมั่งคั่งร่ำรวยให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา เป็นจุดเริ่มต้นอิสรภาพทางการเงิน และการสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้แก่ตัวเองอย่างมีความสุขทั้งการและใจ และความมั่งคั่งนั้นก็จะคงอยู่กับชีวิตเราอย่างถาวร


    Choose :
  • OR
  • To comment