เทคนิคการลงทุน: การวิเคราะห์หุ้นโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานหมายถึงอย่างไร?

 


เทคนิคการลงทุน: การวิเคราะห์หุ้นโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานหมายถึงอย่างไร?

คำว่า วิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Fundamentals Analysis นักลงทุนในตลาดหุ้นมักจะได้ยินจนบ่อยและบ่อยมากๆ จนกระทั่งคำๆ นี้แทบจะกลายเป็นยาสามัญประจำบ้านไปแล้ว เพราะไม่ว่าจะเป็น CEO ของ บริษัทใดๆที่อยู่ในตลาด มักจะพูดกับนักลงทุน (จากการให้สัมภาษณ์กับนักข่าว) อยู่เสมอๆว่า บริษัทของผมมีพื้นฐานที่ดี แข็งแกร่ง ซึ่งเมื่อนักลงทุนได้ฟังการให้สัมภาษณ์แล้ว นักลงทุนที่ฟังอยู่ก็จะเข้าใจไปเอง (โดยอัตโนมัติ) ว่าบริษัทนี้น่าลงทุน เพราะ...

ถ้าลองไปถามใครสักคนที่อยู่ในตลาดว่า คำว่าวิเคราะห์หุ้นโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานเนี่ยมันคืออะไร คนที่ตั้งคำถามอาจจะได้รับคำตอบกลับมาว่า ก็โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานในการวิเคราะห์น่ะสิ ถ้าถามต่อไปว่า แล้วปัจจัยพื้นฐานเนี่ยมันมีอะไรบ้าง คนที่ถามอาจจะได้รับคำตอบหรือไม่ได้รับคำตอบก็ได้ หรืออาจได้รับคำตอบแล้วแต่ยังทำให้รู้สึกงงๆ ได้อยู่...อันนี้ก็แล้วแต่ว่าท่านไปถามใครเข้า

ถ้าเรามองว่าเทคนิคการลงทุนโดยการวิเคราะห์หุ้นโดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน ก็เป็นกล่องใส่เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถหาคำตอบจากคำ ถามสำคัญว่าบริษัทที่เราสนใจในขณะนี้ดีและเหมาะสมที่จะลงทุนด้วยหรือไม่  จาก นั้นเราจึงค่อยหาอุปกรณ์ที่อยู่ในกล่องเครื่องมือนี้มาช่วยในการหาคำตอบที่ เราต้องการ ซึ่งจะดีกว่าหรือ ไม่ ที่เราจะมามัวแต่นั่งฟังใครต่อใครหลายๆ คน มาคอยบอกเราว่าบริษัทโน้นดีน่าลงทุน บริษัทนี้ไม่ดีไม่น่าลงทุน [
เทคนิคการลงทุน]

คำว่า ปัจจัยพื้นฐาน เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก แต่ถ้าจะกล่าวแบบสรุป ก็น่าจะได้แก่ การที่เราจะหามูลค่าของบริษัทโดยพิจารณาจากข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งน่าจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่

1. ข้อมูลทางด้านการเงินที่ทางบริษัทส่งให้กับตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้นักลงทุน สามารถเข้าใจถึงสภาพการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัท ซึ่งข้อมูลนี้เราสามารถที่จะใช้ตัวเลขมาชี้วัดเพื่อนำไปเปรียบเทียบจากผลการ ดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทหรือนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง ซึ่งภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า
Quantitative กับ

2.ข้อมูลที่เราไม่สามารถใช้ตัวเลขใดๆ มาชี้วัดได้เลย ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า
Qualitative ซึ่งข้อมูลประเภทนี้ก็อย่างเช่น ยี่ห้อสินค้า, ความเป็นเจ้าของสิทธิบัตรและเทคโนโลยี และสิ่งอื่นใดก็ตามที่จะทำให้บริษัทได้เปรียบคู่แข่งขัน ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองกลุ่มเหล่านี้ ก็จะทำให้ได้มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของบริษัทขึ้นมา
[เทคนิคการลงทุน]
 
สำหรับอุปกรณ์ที่อยู่ในกล่องใส่เครื่องมือชนิดนี้ จะต้องสามารถตอบคำถามง่ายๆ เหล่านี้ได้เช่น

* บริษัทมีรายรับที่เพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า
* บริษัทมีกำไรเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
* รายรับที่เพิ่มขึ้นมานั้นเกิดจากการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทใช่หรือไม่
* บริษัทสามารถจ่ายคืนเงินที่กู้ยืมมาได้หรือเปล่า

จาก คำถามที่แสดงมาขั้นต้น อุปกรณ์ที่น่าจะนำไปใช้ก็น่าจะได้แก่ อัตราส่วนทางการเงิน ที่เรามักจะนำไปใช้คู่กับรายงานทางการเงินที่ทางบริษัทแจ้งให้แก่นักลงทุน ทราบทุกๆ ไตรมาสนั่นเอง ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลรายงานทางการเงินได้จากทางตลาดหลักทรัพย์ ตามลิงก์ต่อไปนี้
http://www.set.or.th/th/company/presentation_p1.html

[เทคนิคการลงทุน]


    Choose :
  • OR
  • To comment