เทคนิคการลงทุน: จัดสรรเงินลงทุน กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง

 

เทคนิคการลงทุน: จัดสรรเงินลงทุน กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง
 
เทคนิคการลงทุน การลงทุนทุกประเภทล้วนแต่มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น แต่เราสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ หากเรารู้ว่าความเสี่ยงที่เผชิญอยู่มีอะไรบ้าง...เพื่อนสมาชิกคงอยากทราบต่อ แล้วว่า จะมีวิธีลดความเสี่ยงได้อย่างไร
วิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนได้คือ การจัดสรรเงินลงทุน
การจัดสรรเงินลงทุน (Asset allocation) คือ การแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนว่าจะนำเงินไป ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทใดบ้าง และในสัดส่วนเท่าใด ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หุ้น หรือหน่วยลงทุน เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากหากลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทใดผิดพลาด ก็ยังมีหลักทรัพย์ประเภทอื่นรองรับ

นอกจากนี้ ในช่วงเวลาหนึ่งหลักทรัพย์บางประเภทอาจให้ผลตอบแทนดีกว่าประเภทอื่น ดังนั้น การจัดสรรเงินลงทุนได้ถูกจังหวะและถูกประเภทหลักทรัพย์ จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้าง ผลตอบแทนให้สูงขึ้นและดีกว่าตัวชี้วัด (Benchmark) ที่ใช้อ้างอิง

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการจัดสรรเงินลงทุนเช่นเดียวกัน โดยปกติผู้จัดการกองทุนจะไปพบคณะกรรมการกองทุนทุกต้นปี เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจและสภาวะการลงทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน ปีนั้น รวมทั้งให้ข้อแนะนำแก่คณะกรรมการกองทุนในการจัดสรรเงินลงทุน ตลอดจนร่วมกันกำหนดเป้าหมายผลตอบแทนที่ต้องการ และตัวชี้วัดที่เหมาะสม ที่จะใช้ประเมินความสามารถของผู้จัดการกองทุน

การจัดสรรเงินลงทุนที่ ว่านี้จะขึ้นอยู่กับระดับการยอมรับความเสี่ยงที่กองทุนยอมรับได้ และอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ หากกองทุนใดต้องการอัตราผลตอบแทนสูงจากการลงทุน ก็จะเน้นสัดส่วน การลงทุนในตราสารทุน ซึ่งมีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนสูง แต่ก็ต้องยอมรับว่าจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นด้วย

อย่างไรก็ดี เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือเป็นเงินก้อนสุดท้ายของสมาชิกที่เก็บไว้ ใช้ในยามที่ไม่ได้ทำงาน คณะกรรมการกองทุนโดยส่วนใหญ่จึงจัดสรรเงินลงทุนแบบระมัดระวัง โดยเน้นสัดส่วน การลงทุนในตราสารหนี้ ประเภทพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งให้รายได้กับกองทุน อย่างสม่ำเสมอ และมีการลงทุนในตราสารทุนบ้าง เพื่อให้กองทุนมีโอกาสเพิ่มผลตอบแทนได้

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย คือ การกำหนดระยะเวลาในการปรับพอร์ตการลงทุน เพื่อให้กองทุนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจเป็นการปรับพอร์ตทุกรายไตรมาส ทุกครึ่งปี หรือทุกครั้งที่มี เหตุการณ์สำคัญที่กระทบกับการลงทุน โดยอาจปรับเพิ่มลดน้ำหนักการลงทุนหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือลงทุนในหลักทรัพย์อื่นเพิ่มเติม ซึ่งอาจเป็นจังหวะที่จะทำให้กองทุนมีโอกาสเพิ่มผลตอบแทนหรือลด การขาดทุนได้


    Choose :
  • OR
  • To comment