ไขข้อข้องใจการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต เมื่อรู้แล้วคุณต้องอึ้ง!!

 


การคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่แท้จริง และข้อควรระวังในการใช้บัตรเครดิต



ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าจำนวนบัตรเครดิต มีมากกว่า 20 ล้านใบ แสดงถึงความนิยมในการใช้บัตรเครดิตอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบัน ถึงกระนั้น ก็ยังมีผู้บริโภคจำนวนมากที่ไม่ทราบหรือมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาหนี้สะสมตามมาได้ ในฐานะผู้ใช้บัตรเครดิต จึงสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงเงื่อนไขและข้อกำหนดในการใช้ต่างๆ

ความเข้าใจผิดอันดับต้นๆ ของผู้ใช้เกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตคือ 1. คิดว่าดอกเบี้ยถูกคำนวณจากยอดที่เหลือจากการชำระขั้นต่ำ และ 2. คิดว่าดอกเบี้ยเริ่มถูกคำนวณจากวันครบกำหนดชำระ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ในความเป็นจริงแล้ว ดอกเบี้ยจากการชำระยอดค่าใช้จ่ายแบบไม่เต็มจำนวนจะถูกแบ่งคำนวณเป็นสองส่วน คือ

(๑) ดอกเบี้ยส่วนแรก: 20% คิดจากยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตั้งแต่วันที่บันทึกรายการจนถึงวันสรุปยอดค่าใช้จ่าย 

(๒) ดอกเบี้ยส่วนที่สอง: 20% คิดจากยอดคงค้าง ตั้งแต่วันที่ทำการชำระขั้นต่ำจนถึงวันสรุปยอดค่าใช้จ่ายเดือนถัดไป

ตัวอย่างเช่น หากบัตรสรุปยอดทุกวันที่ 25 และกำหนดชำระทุกวันที่ 9 ของเดือนถัดไป หากท่านมียอดค่าใช้จ่าย 12,000 บาทในวันที่ 13 ต.ค. และเลือกชำระขั้นต่ำ 1,200 บาทในวันที่ 9 พ.ย. ดอกเบี้ยสำหรับรอบบิลถัดไป (9 ธ.ค.) จะถูกคำนวณดังนี้

(1) ยอดรวม 12,000 บาท x ดอกเบี้ย 20% x 13 วัน / 365 = 85.48 บาท (ตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. – 25 ต.ค.)

(๒) ยอดคงค้าง 10,800 บาท x ดอกเบี้ย 20% x 17 วัน / 365 = 100.60 บาท (ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. – 25 พ.ย.)
ดังนั้น ยอดที่จะถูกเรียกเก็บทั้งสิ้นคือ 10,800 + 85.48 + 100.60 = 10,986.08 บาท รวมดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย 186.08 บาท

นอกจากการศึกษาวิธีคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่แท้จริงแล้ว ผู้ใช้บัตรยังควรพึงระวังถึงเรื่องต่อไปนี้

1. ควรชำระยอดค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนทุกครั้ง เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่สะสมไปทุกๆ รอบบิล จะส่งผลให้เป็นเกิดหนี้ก้อนใหญ่ในท้ายที่สุดจนไม่สามารถจัดการชำระได้
2. หากไม่สามารถชำระเต็มจำนวนได้ ให้เลือกชำระขั้นต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้ถูกเก็บค่าธรรมเนียมในการติดตามทวงถาม นอกจากนั้นหากผู้ใช้ขาดชำระติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน อาจถูกตัดสิทธิ์การใช้บัตรและถูกฟ้องร้องต่อไป
3. หลายท่านเลือกชำระเงินให้น้อยที่สุดที่จำนวนขั้นต่ำ เพราะคิดว่าถึงอย่างไรดอกเบี้ยส่วนแรกก็ต้องคำนวณจากยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ดี แต่ที่จริงแล้ว ยิ่งชำระมากเท่าไหร่ ดอกเบี้ยในส่วนที่สองก็จะลดมากตามไปด้วย
4. ควรกันเงินสดไว้หลังการใช้บัตรทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินเพียงพอสำหรับการชำระเต็มจำนวน
5. ใช้บัตรเครดิตอย่างรู้ทันและมีสติ ควรถามตัวเองทุกครั้งก่อนการรูดบัตรว่าจะสามารถนำเงินมาชำระหนี้แบบเต็มจำนวนได้หรือไม่ เลือกใช้บัตรแทนการจ่ายเงินสดเพราะอะไร และจะได้รับสิทธิ

การไม่เป็นหนี้เป็นลาภอันประเสร็ฐ หลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องฉลาดในการใช้บัตรเครดิตครับ

ไปหน้าแรก  การออมเงินให้ได้ล้าน


    Choose :
  • OR
  • To comment